อุปสรรคที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากไหน ล้วนมาจากอารมณ์และความคิดของเราเองทั้งสิ้น มี 3 สาเหตุหลัก คือ “ข้ออ้าง ความกลัว และความไม่มั่นใจ” เหตุผลและอารมณ์เหล่านี้ ล้วนมาจากอิทธิพลของ สมองส่วนหลัง (Limbic System) ทั้งสิ้น อันเป็นจิตใต้สำนึกจากสัญชาตญาณดั้งเดิม ที่ต้องการปกป้องเราให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย
นั่นเอง
หากเราต้องการสร้างผลลัพธ์และจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ คงต้องเริ่มทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นชิน และมีอุปนิสัยแห่งการลงมือทำอย่างต่อเนื่องได้ แต่การเอาชนะสมองส่วนหลังนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราต่างก็รู้ดี ว่ากี่ครั้งแล้วที่เราพยายามตื่นให้เช้าขึ้น กี่หนที่อยากลดน้ำหนักให้ได้สักหน่อย นิสัยพฤติกรรมอันเคยชิน ที่เราก็รู้ว่ามันไม่ดีต่อตัวเอง ต่อสุขภาพ ต่อคนรอบกาย เราก็ยังคงทำมันอยู่อย่างจำใจ รู้สึกผิดไปก็แป๊บเดียว เราไม่เคยรอดจากการเป็นทาสของสมองส่วนหลังเลย นี่ใช่ไหม บ่อเกิดของความล้มเหลวในชีวิต
การสร้างนิสัยแห่งความสำเร็จ 4 ขั้นตอน
เราต้องการก้าวข้ามพฤติกรรมเดิมๆ ที่หยุดยั้งความสำเร็จในชีวิต เราต้องฝึกกระตุ้น สมองส่วนหน้า (Pre-Frontal Cortex) ที่ควบคุมกลไกของการคิดวางแผน วิเคราะห์แยกแยะ และจินตนาการ ให้ทำงานได้มากขึ้น จนเอาชนะสมองส่วนหลังได้ในที่สุด โดยใช้ 4 ขั้นตอนง่ายๆ คือ
1. การรับรู้อย่างที่เป็น
ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เบื่อเซ็ง ความขี้เกียจ เหตุผลต่างๆ ที่อธิบายว่าเราทำไมได้ สิ่งต่างๆ ที่ผุดขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นเรื่องราวที่เรามักคิดปรุงแต่งขึ้นมาเพื่อเข้าข้างตัวเองเท่านั้น ให้เรารับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นอย่างที่เป็น เพียงแค่รับรู้ โดยที่ไม่ต้องพยายามหักล้าง ไม่ต้องสร้างเหตุผลข่มทับเพื่อเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงไปทำอย่างอื่นแทน การไม่ต่อต้าน จะทำให้สมองส่วนหลัง หยุดผลิตความคิดและอารมณ์มาควบคุมเรา
2. การใคร่ครวญถึงเป้าหมาย
ลองเขียนเป้าหมายที่เราต้องการลงในกระดาษ และถามตัวเองว่า เราต้องการมันจริงไหม ด้วยเหตุผลใด มันสำคัญ หรือจำเป็นกับเราอย่างไร ? ณ จุดนี้ สมองส่วนหน้าจะเริ่มติดเครื่องทำงานเบาๆ และมีพลังเหนือกว่าสมองส่วนหลังแล้ว
3. การใช้จินตนาการ
ตั้งคำถามกับตัวเองว่า หากเราได้บรรลุเป้าหมายนั้น ชีวิตเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร มีสิ่งดีๆ อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้น ?
การใช้จินตนาการถึงภาพความสำเร็จ ทำให้สมองส่วนหน้าได้ออกแรงทำงานได้เต็มที่
สมองส่วนหน้าจะสร้างอารมณ์แห่งความปีติยินดี มีความกระตือรือร้น เบิกบาน เปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดพลังที่จะลุกออกไปทำอะไรใหม่ๆอย่างที่ต้องการได้ไม่ยากนัก
แต่ช้าก่อน! เทคนิคเพียงเท่านี้อาจไม่สำเร็จเสมอไป
บางครั้งขณะที่กำลังจินตนาการเรื่องดีๆ สมองส่วนหลังก็พลันตื่นขึ้นมา แล้วลากเราให้จมลงไปในก้นเหวอีก จึงต้องใช้ขั้นตอนสุดท้ายต่อไปนี้
4. การสร้างฝันร้าย
ให้ลองตั้งคำถามใหม่ว่า ถ้าเราไม่ทำสิ่งที่ตั้งใจนี้ แล้วยังกลับไปทำแบบเดิมๆ อยู่ต่อไปเรื่อยๆ “สิ่งที่เลวร้ายที่สุด” ที่จะเกิดขึ้นได้คืออะไร ผลกระทบกับชีวิตในอนาคตจะเป็นอย่างไร ? ชีวิตเราจะแย่แค่ไหน ?
หลังจากนั้น เราจะเริ่มเห็นภาพความหดหู่ จะเกิดอารมณ์เศร้า ท้อแท้ และสุดท้ายกลายเป็น “ความกลัว” เมื่อกลัวจนถึงจุดหนึ่ง เราจะเริ่มทนอยู่แบบเดิมไม่ได้ แล้วเราก็จะออกไปทำสิ่งใหม่ๆ ให้พ้นจากภาวะแบบนี้เองในที่สุด (สมองส่วนหลังเมื่อสัมผัสความกลัวมากๆ เข้า ก็จะเกิดกลไกการปกป้องตัวเอง ให้เราเกิดอารมณ์ลนลาน ลุกออกมาทำอะไรบางอย่างได้ทันทีเช่นกัน เป็นการใช้ความกลัวที่สมองส่วนหลังคุ้นเคย เปลี่ยนเป็นแรงผลักดัน เหมือนสำนวนที่ว่า ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา นั่นเอง ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่แนะนำให้ใช้เทคนิคสุดท้าย เพราะมันไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ ที่จะลุกไปทำอะไรๆ เพราะความกลัว ไว้ใช้เมื่อคราวที่ทำเทคนิค 3 ข้อแรกแล้วไม่ได้ผลก็พอค่ะ)
“สมองมนุษย์ เป็นเครื่องจักรผลิตเหตุผล” และเหตุผลส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้นเลย ดังนั้นเทคนิค 4 ขั้นตอนนี้ จะทำให้สมองของเรา “ ผลิตเหตุผลใหม่ๆ ” ที่มุ่งสู่เป้าหมายและผลลัพธ์ ให้เราสามารถลุกออกไปทำอะไรที่ไม่คุ้นชิน ก้าวข้ามออกจากเขตปลอดภัย ไปลองผิดลองถูก ได้รับบทเรียน ได้แก้ไขปรับปรุง ได้เรียนรู้และพัฒนา จนเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีกว่าเดิม มีผลลัพธ์ที่แตกต่าง
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อาจจะดูทำยาก และเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ให้ลองเริ่มจากเรื่องง่ายๆใกล้ๆ ตัว เช่น เริ่มฝึกเขียนบันทึกประจำวัน 5-10 นาทีก่อนนอน ออกวิ่งจ้อกกิ้งสัก 15 นาทีทุกวัน หรือตื่นเช้าขึ้นสักครึ่งชั่วโมง เมื่อสมองคุ้นเคยกับการออกจากหลุมสบายแล้วล่ะก็ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คงตามมาในไม่ช้า
สมัครธุรกิจ MIR คลิกที่นี้
ดูข้อมูลที่ http://saibuamir.blogspot.com
สมัครเข้าร่วมธุรกิจ MIR ที่
คุณ สายบัว บุญหมื่น โทร. 088 415 3926
ID Line : bua300908
อีเมล์ : sboonmuen@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น